การใช้น้ำของไม้ผล
ในภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้น การกระจายตัวของฝนเปลี่ยนแปลงไป ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เกิดวิกฤตความแห้งแล้ง เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช น้ำเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากต่อการให้ผลผลิตของพืช การวางแผนจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการใช้น้ำตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงอายุการเจริญเติบโต ช่วยลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำของฤดูการที่ไม่แน่นอนหรือการให้น้ำพืชไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชแต่ละชนิด การวางแผนการจัดการน้ำแบบยั่งยืน เช่น ติดตั้งระบบ สปริงเกอร์รดน้ำ ให้ครอบคลุมและสามารถเพิ่มลดการให้น้ำแก่พืชตามความต้องการของช่วงการเติบของพืชได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ลดเวลาที่ใช้การรดน้ำ ประหยัดแรงงาน และไม่ต้องกังวลเรื่องฝนที่ไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้น้ำของไม้ผล
- สภาพภูมิอากาศรอบๆ ต้นพืช ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศและความเร็วลม เป็นต้น
- ชนิดและอายุของไม้ผล พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำที่แตกต่างกัน พืชชนิดเดียวกัน การใช้น้ำจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเริ่มปลูกจนโตเต็มที่ จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง
- ดิน ได้แก่ เนื้อดิน ปริมาณความชื้นในดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำ
- องค์ประกอบอื่นๆ เช่น วิธีการใช้น้ำแก่พืชและความลึกที่ให้แต่ละครั้ง
จะให้น้ำแก่พืชครั้งละเท่าใด? เป็นการยากที่จะรู้ว่าจะให้น้ำแก่พืชมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ส่งผลหลายอย่าง เช่น การใช้น้ำของพืช ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน อัตราการซึมของดิน ซึ่งจะต้องใช้การคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน มีหลากหลายวิธี
- ปริมาณการใช้น้ำของไม้ผล
การคำนวณอย่างง่ายที่พอจะให้รู้ค่าการใช้น้ำของไม้ผลแบบง่ายๆ และสามารถนำไปใช้วางแผนจัดการน้ำได้ในระดับหนึ่ง ดังนี้
สูตร ET = Kp*Ep*ทรงพุ่ม/ประสิทธิภาพการให้น้ำ (ลิตร/วัน/ต้น)
เมื่อ ET = ค่าการใช้น้ำของไม้ผล (ลิตร/วัน/ต้น)
Kp = สัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช [ดูในตารางที่ 1 หรือตารางที่ 1-1]
Ep = ค่าการระเหยที่ได้จากถาดวัดการระเหย (มม./วัน) [ดูในตารางที่ 2]
ทรงพุ่ม = พื้นที่ของทรงพุ่ม (ตารางเมตร)
คิดประสิทธิภาพการให้น้ำ 85%
หรือ คิดจากพื้นที่เพาะปลูก (ตารางเมตร)
ความต้องการน้ำของพืช = ET(มม./วัน)*ช่วงเวลาที่ต้องการให้น้ำ(วัน)*พื้นที่เพาะปลูก(ตรม.)
- จะให้น้ำนานเท่าใด ให้กี่วัน/ครั้ง จะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ดังนี้
- ถ้าเป็นการให้น้ำแบบผิวดิน จะต้องทราบ
- อัตราการให้น้ำที่เหมาะสม (ลิตร/วินาที)
- ระยะเวลาในการซึมน้ำของดิน (มม./ชม.)
- ความลึกของน้ำที่จะให้ (มม.)
- ปริมาณความสามารถอุ้มน้ำของดิน
- ปริมาณการใช้น้ำของพืช
- ถ้าเป็นการให้น้ำแบบฉีดฝอยหรือ สปริงเกอร์รดน้ำ จะต้องทราบ
- อัตราการให้น้ำแก่พืช (มม./ชม.)
- อัตราการซึมน้ำของดิน (มม./ชม.)
- ปริมาณการใช้น้ำของพืช(มม./ชม.)
- ปริมาณความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน
- ถ้าเป็นการให้น้ำแบบหยด
- ต้องรู้อัตราการใช้น้ำของพืช (ลิตร/วัน/ต้น)
- ต้องรู้อัตราการให้น้ำของหัวปล่อยน้ำ (ลิตร/ชม.)
- สำหรับการหาระยะเวลาการให้น้ำ
(กรณีน้ำหยด)
การหาระยะเวลาการให้น้ำ(ชั่วโมง) = ปริมาตรน้ำที่ต้องการ(ลิตร)/อัตราการให้น้ำ(ลิตร/ชม.)
(กรณีแบบฉีดฝอย)
การหาระยะเวลาการให้น้ำ(ชั่วโมง) = ความลึกของน้ำที่จะให้(มม.)/อัตราการให้น้ำ(มม./ชม.)
- สำหรับการหารอบเวรการให้น้ำ
รอบเวรการให้น้ำ(วัน/ครั้ง) = ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน(มม.)/ปริมาณการใช้น้ำของไม้ผล (มม./วัน)
- สัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช Kp


- ปริมาณการระเหยน้ำ(Ep) จากถาดวัดการระเหยแบบเอ(Epan) เฉลี่ยรายเดือนสำหรับภาคเหนือ
